หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
ไปเซเว่นเอาอะไรไหม๊
คุณมีโอกาสถูกฆ่าโดยใครมากที่สุด?
#แชร์เพื่อรณรงค์เลิกตราบาปโรคจิตเวช bit.ly/notkiller

ข้อมูลจากงานวิจัยคดีฆาตกรรมในต่างประเทศ ทำให้เห็นสัดส่วนของผู้ก่อเหตุ ซึ่งต่างจากความรู้สึกของหลายๆคน

1. ผู้ก่อเหตุที่เป็นผู้ป่วยจิตเวชรุนแรงมีอาการประสาทหลอนหลงผิด (ไซโคซิส) มีสัดส่วนเพียงประมาณ 10% จากงานวิจัยในหลายประเทศ [2,3,4]

2. คดีประเภทที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ (ขัดแย้ง) ในครอบครัว คือโดยแฟนและคนในครอบครัว จะมีลักษณะเป็นการฆ่าเพื่อต้องการกำจัดคนนั้นโดยตรง เช่นเพราะหึงหวง น้อยใจ โกรธแค้น ฯลฯ มีสัดส่วนประมาณ 16-34% และเหยื่อส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง [1]

3. คดีประเภทที่เกี่ยวกับอาชญากรรม คือโดยแก๊ง มาเฟีย โจร นักข่มขืน ฯลฯ จะมีลักษณะเป็นการฆ่าเพื่อเป้าหมายอื่น เช่นปล้นชิงทรัพย์ หรือปิดปาก มีสัดส่วนประมาณ 27-48% [1]

4. ผู้ก่อเหตุขณะกำลังเมาเหล้าหรือยาเสพติด มีสัดส่วนประมาณ 37% [1]

คุณควรจะกลัวถูกฆ่าโดยคนเมา แฟน หรือคนในครอบครัว และอาชญากร มากกว่าคนป่วยจิตเวช

ถ้ายังแปลกใจลองนับข่าวฆาตกรรมในเมืองไทย แม้จะเอาเฉพาะที่ลงในหนังสือพิมพ์ไทยในแต่ละปี ก็จะพบว่าสัดส่วนเป็นประมาณนี้ เช่นสมมุติเราสนใจเฉพาะคดีฆ่าหั่นศพ ถ้านับข่าวคดีในเมืองไทย (จาก sanook.com) ในช่วงปี 2561-2562

จะพบว่าผู้ก่อเหตุเป็นคนที่ไม่ได้ป่วย 6 คดี (สาวเล็บแดง, หนุ่มม้ง, วุธ, หนุ่มสเปน, หนุ่มเกาหลี, เปรี้ยว) ส่วนคนป่วยจิตเวชมีเพียง 1 คดี แล้วก็เป็นประเภทความสัมพันธ์ในครอบครัวด้วย คือโรคของจำเลยอาจจะมีส่วนอยู่บ้าง แต่ปัจจัยหลักคือความขัดแย้งในครอบครัวมากกว่า และไม่แปลกที่ความขัดแย้งแบบนี้จะนำไปสู่ฆาตกรรมโดยคนปกติ อย่างที่เห็นอยู่ประจำในข่าว

— ผู้ป่วยจิตเวชไม่ได้ก่อเหตุบ่อย แต่ทุกครั้งจะเป็นข่าวเสมอ

ปัญหาจากผู้ป่วยจิตเวชนานๆจะเกิดขึ้นที แต่คนจะจำได้แทบทุกกรณี เพราะแต่ละวัน อุบัติเหตุหรืออาชญากรรมมันเยอะจนไม่เป็นข่าวอยู่แล้ว สื่อจะเลือกมาเฉพาะกรณีที่แปลกประหลาด ยิ่งถ้าผู้ก่อเหตุเป็นผู้ป่วยจิตเวชจะการันตีได้ว่าคนจะชอบอ่าน (โกรธ) แน่นอน มันเลยเป็นข่าวเสมอ ทำให้ดูเหมือนเกิดบ่อยมาก แต่จริงๆตรงข้าม

ปรากฏการณ์จิตวิทยานี้เรียกว่า availability bias เมื่อเราประเมินโอกาสของอะไรบางอย่างเกินความเป็นจริง เพราะเหตุการณ์ทำนองนั้นเพิ่งเกิดขึ้นหรือทำให้เรารู้สึกอย่างรุนแรง เช่นเวลาขึ้นเครื่องบินเรากลัวมากกว่าขึ้นรถ ทั้งที่โอกาสตายบนรถสูงกว่าเป็นพันเท่า

แต่ทุกครั้งที่เครื่องบินตกเราได้เห็นในข่าวเสมอ และมันก็น่ากลัวที่สุด แต่อุบัติเหตุรถเกิดบ่อยจนเป็นเรื่องธรรมดา เฉพาะเมืองไทยก็ทำให้คนตาย 50-60 คนต่อวัน นั่นทำให้สื่อต้องเลือกเฉพาะกรณีที่น่าสนใจจริงๆเท่านั้น พอรับรู้ข่าวผิดสัดส่วนอย่างนี้ตลอดเวลา สมองเราเลยประเมินว่าเครื่องบินอันตรายกว่ารถ กลายเป็นความรู้สึกลึกๆทั้งที่เรารู้ว่ามันไม่จริง

เช่นเดียวกัน คดีหมูแฮมชนคนตายเป็นดราม่าใหญ่โต ทำให้ทุกคนกลัวว่าตัวเองจะถูกคนป่วยจิตเวชขับรถชนมาจนถึงทุกวันนี้ ทั้งที่โอกาสมันน้อยมาก ลองดูสถิติอุบัติเหตุจราจร ตัวเลขปี 2558 มีจำนวน 67,997 ครั้ง (จากคนเมา 1,364 ครั้ง) แต่ลองนึกดูปีๆนึง มีอุบัติเหตุเกิดจากคนป่วยจิตเวชขับรถกี่ครั้ง? ลองไล่ดูข่าวตั้งแต่ปี 2550 คดีหมูแฮมจนถึงปี 2562 กรณีหนุ่มแว่น นับได้กี่กรณี? ตลอด 12 ปีนี้ใครนับได้เกิน 10 หรือเปล่า

ทุกคนมีโอกาสถูกคนไม่ป่วยขับชนมากกว่ามาก โดยเฉพาะคนที่ชอบขับเร็ว คึกคะนอง หรือเมาเหล้า เช่นเดียวกัน ทุกคนมีโอกาสถูกด่าหรือทำร้ายโดยคนไม่ป่วยมากกว่ามาก โดยเฉพาะคนนิสัยเห็นแก่ตัว ขี้โมโห หรือพวกอาชญากร แต่เมื่อไหร่ที่คนป่วยจิตเวชก่อเหตุ คนจะมีโอกาสได้เห็นในข่าวมากกว่ามาก เพราะทุกสื่อและโซเชียลรู้ว่ามันจะทำให้คนอ่านโมโหและไลค์แชร์กันอย่างหนัก

— กำจัดตราบาป เลิกเกลียดกลัวผู้ป่วยจิตเวช

โรคจิตเวชส่วนใหญ่รักษาได้ แต่ปัญหาคือคนไทยส่วนใหญ่ป่วยแล้วจะไม่หาหมอ เพราะเมื่อใดที่เริ่มรักษาก็จะกลายเป็นคนป่วยจิตเวช แล้วก็จะกลายเป็นคนที่สังคมรังเกียจและหวาดกลัว คนป่วยส่วนใหญ่จึงยอมทรมานต่อไป หรือแม้แต่ยอมฆ่าตัวตาย ดีกว่าจะโดนสังคมรังเกียจ นี่คือที่มาของตราบาปโรคจิตเวช

เมื่อสังคมไทยเลิกมองว่าผู้ป่วยจิตเวชเป็นคนบ้าอันตราย หรือโกหกเพื่อเอาตัวรอด เมื่อนั้นคนป่วยก็จะกล้ายอมรับตัวเองและยอมหาหมอมากขึ้น ซึ่งนั่นจะเป็นประโยชน์มากที่สุดต่อทุกคนสังคม
——

— อ้างอิง
[1] UN's “Global Study on Homicide 2019” - Booklet 3: Understanding homicide - typologies, demographic factors, mechanisms and contributors — https://www.unodc.org/unodc/en/data-and-analysis/global-study-on-homicide.html

[2] “1000 Homicides by mentally ill” —
https://mentalillnesspolicy.org/consequences/1000-homicides.html

[3] “กรมสุขภาพจิต แนะระมัดระวังการด่วนสรุปว่าปัญหาสุขภาพจิตเป็นเหตุแห่งอาชญากรรม” — http://www.prdmh.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95/1444-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0

[4] “Psychosis and homicide” — https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/29537982
4Y